11.03.2025
รวมทุกเรื่องที่ต้องรู้ก่อนติดฟิล์มรถยนต์ อ่านจบพร้อมเลือก !

การติดฟิล์มรถยนต์ไม่ใช่แค่เรื่องของความสวยงามหรือความเป็นส่วนตัวเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับการปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารจากความร้อนและแสง UV ที่เป็นอันตรายอีกด้วย รวมถึงยังต้องคำนึงถึงกฎหมายจราจรเพื่อให้การใช้งานรถยนต์เป็นไปอย่างปลอดภัยและถูกกฎหมาย มาดูกันว่าฟิล์มรถยนต์ประเภทต่าง ๆ มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเราควรเลือกติดฟิล์มรถยนต์แบบไหนดีให้ตอบโจทย์ความต้องการได้ครบถ้วนทุกด้าน
ฟิล์มรถยนต์มีกี่ประเภท เลือกติดฟิล์มรถยนต์แบบไหนดี ?
- ฟิล์มย้อมดำ
เป็นฟิล์มราคาย่อมเยาที่ใช้กระบวนการย้อมสีเพื่อกรองแสง ข้อดีคือช่วยลดแสงสะท้อนได้ดี แต่ก็มีข้อเสียด้านความสามารถในการป้องกันรังสี UV และความร้อนที่ไม่ดีเท่าฟิล์มชนิดอื่น อีกทั้งยังเสื่อมสภาพได้ง่ายเมื่อใช้งานในระยะยาว - ฟิล์มโลหะ
ฟิล์มชนิดนี้มีส่วนผสมของโลหะบางชนิด ช่วยสะท้อนความร้อนออกจากตัวรถได้ดี อย่างไรก็ตาม ข้อเสียคืออาจรบกวนสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ เช่น GPS หรือสัญญาณโทรศัพท์ - ฟิล์มใสกันร้อน
เป็นฟิล์มใสที่เน้นการป้องกันความร้อนและรังสี UV โดยไม่ลดทัศนวิสัยในการมองเห็น เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความโปร่งใสและมุมมองการขับขี่ที่ชัดเจน - ฟิล์มเซรามิก
ผลิตด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่กำลังได้รับความนิยม ฟิล์มชนิดนี้มีคุณสมบัติเด่นในการลดความร้อนและป้องกันรังสี UV ได้ดีเยี่ยม โดยไม่สะท้อนแสงหรือรบกวนสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ แต่มีราคาค่อนข้างสูง - ฟิล์มชาร์โคล
ฟิล์มรถยนต์ชนิดนี้มีลักษณะเฉพาะตัวด้วยโทนสีเข้มสวยงาม อีกทั้งยังสามารถลดความร้อนและป้องกันรังสี UV ได้ในระดับดี แต่ยังไม่เทียบเท่าฟิล์มเซรามิก - ฟิล์มนิรภัย
เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มความปลอดภัยให้ตัวรถและผู้โดยสาร เนื่องจากฟิล์มรถยนต์ชนิดนี้มีความหนาพิเศษ สามารถช่วยป้องกันกระจกแตกจากอุบัติเหตุหรือการโจรกรรมได้ - ฟิล์มดิจิทัล
เทคโนโลยีล้ำสมัยที่ผสมผสานความสามารถในการลดความร้อนและรังสี UV พร้อมคุณสมบัติลดแสงสะท้อนได้ดีเยี่ยม
เปอร์เซ็นต์ฟิล์มรถยนต์ที่เหมาะสม
ระดับความเข้มของฟิล์มหรือ ‘เปอร์เซ็นต์ฟิล์มรถยนต์’ ส่งผลต่อทั้งการลดความร้อนและทัศนวิสัยในการขับขี่ ดังนั้น การเลือกเปอร์เซ็นต์ฟิล์มรถยนต์ที่เหมาะสม จะมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อทัศนวิสัยและประสบการณ์ขับขี่ที่จะได้รับ
- 40%
ฟิล์มความเข้มระดับนี้เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการความสว่างและทัศนวิสัยที่ชัดเจน ตอบโจทย์ผู้ขับขี่ที่เดินทางในเวลากลางคืนหรือในพื้นที่ที่มีแสงน้อย - 60%
เป็นระดับกลางที่ตอบโจทย์ทั้งการลดความร้อนและความเป็นส่วนตัว ช่วยลดแสงสะท้อนจากภายนอกโดยยังคงให้ทัศนวิสัยที่ดี - 80%
สำหรับผู้ที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูงสุด พร้อมทั้งช่วยลดความร้อนได้มาก เหมาะสำหรับรถยนต์ที่จอดตากแดดเป็นประจำ หรือผู้ที่ไม่ต้องการให้คนภายนอกมองเห็นภายในตัวรถ
ฟิล์มรถยนต์กับกฎหมายในประเทศไทย
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการติดฟิล์มรถยนต์คือ “ติดฟิล์มรถยนต์เข้มเกินไปผิดกฎหมายหรือไม่ ?” ซึ่งคำตอบสามารถยกพ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 มาอธิบายได้ว่า กฎหมายไม่ได้จำกัดความเข้มของฟิล์ม แต่ห้ามใช้ฟิล์มที่มีการสะท้อนแสงสูงเกิน 30% เช่น ฟิล์มปรอทเงา เนื่องจากอาจรบกวนผู้ใช้รถใช้ถนนคนอื่น ๆ ดังนั้น เจ้าของรถสามารถเลือกติดเปอร์เซ็นต์ฟิล์มรถยนต์ที่เข้มได้ตามต้องการได้ แต่ต้องระวังเรื่องฟิล์มสะท้อนแสงเป็นสำคัญ
เคล็ดลับการติดฟิล์มรถยนต์
- เลือกแบรนด์ที่เชื่อถือได้
แบรนด์ที่มีชื่อเสียงมักมีคุณภาพสูง ทั้งในด้านการลดความร้อนและความทนทาน เช่น 3M, V-Kool, หรือ Lamina - ตรวจสอบการป้องกันรังสี UV
ฟิล์มที่ดีควรมีความสามารถในการป้องกันรังสี UV ได้มากกว่า 99% เพื่อปกป้องผิวหนังและดวงตาของผู้ขับขี่ - เลือกช่างติดฟิล์มที่มีประสบการณ์
การติดฟิล์มที่มีคุณภาพขึ้นอยู่กับทักษะของช่าง ดังนั้น การเลือกช่างที่มีประสบการณ์จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดฟองอากาศหรือปัญหาอื่น ๆ
นอกจากการติดฟิล์มรถยนต์ที่เหมาะสมและถูกต้องตามข้อกฎหมายจะช่วยเพิ่มความปลอดภัย รวมถึงสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับการขับขี่แล้ว อีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กันถ้าอยากมั่นใจได้ในทุกเส้นทางคือการมีรถยนต์คันที่ใช่ สมรรถนะเยี่ยม ไม่เคยผ่านอุบัติเหตุหนักมาก่อน โดยสำหรับคนที่กำลังมองหาตลาดรถมือสองที่จำหน่ายรถสภาพดี สามารถมาเลือกได้ที่ Autovilla เต็นท์รถมือสองครบวงจร เรามีรถให้เลือกครบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ มากกว่า 300 คัน โดยผ่านการตรวจประเมินสภาพรถยนต์ถึง 344 จุด จาก Goo Inspection ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองจากประเทศญี่ปุ่น อีกทั้งตลาดรถมือสองแห่งนี้ยังพร้อมช่วยจัดหาไฟแนนซ์ด้านสินเชื่อรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกท่าน โดยมีสาขาให้บริการรวม 3 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และปทุมธานี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สาขาศรีนครินทร์ โทร. 097-921-9552
- สาขาร่มเกล้า โทร. 095-906-0633
- สาขาลำลูกกา โทร. 092-940-5098
ข้อมูลอ้างอิง:
1. The Ultimate Guide of Car Window Tint. สืบค้นวันที่ 21 มกราคม 2568 จาก https://ceramicpro.com/the-ultimate-guide-of-car-window-tint/