05.06.2024

พ.ร.บ.รถยนต์ สำคัญอย่างไร คุ้มครองอะไรบ้าง อ่านเลย

พ.ร.บ.รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ คุ้มครองอะไรบ้าง?

พ.ร.บ. รถยนต์ หรือ ประกันรถยนต์ภาคบังคับ คือสิ่งที่เจ้าของรถทุกคันจำเป็นต้องทำ เพื่อคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดบนท้องถนน แต่เชื่อว่านอกจากการต่อประกันทุกปี สิ่งที่เจ้าของรถหลาย ๆ คน โดยเฉพาะมือใหม่หัดขับอาจยังไม่เคยรู้มาก่อน ก็คือการที่เราสามารถเรียกค่าสินไหมจากพ.ร.บ. รถยนต์ได้ด้วย บทความนี้พาทุกคนมาดูกันว่า พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไรบ้าง และการเรียกค่าสินไหมจากพ.ร.บ. รถยนต์ ต้องทำอย่างไร ติดตามกันได้เลย

 

พ.ร.บ. รถยนต์ คุ้มครองอะไรบ้าง ?

สำหรับใครที่สงสัยว่า พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองอะไร เบิกอะไรได้บ้าง เราสรุปความคุ้มครองที่จะได้รับจากการทำพ.ร.บ. รถยนต์ไว้ให้แล้ว

 

คุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด

คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาทต่อคน คุ้มครองกรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือ ทุพพลภาพถาวร 35,000 บาทต่อคน กรณีได้รับความเสียหายทั้ง 2 รูปแบบ จะได้รับการคุ้มครองรวมกันไม่เกิน 65,000 บาท ซึ่งนอกจากความคุ้มครองหลัก ๆ เหล่านี้ที่เราได้รับโดยทันทีแล้ว ยังมีความคุ้มครองเพิ่มเติมที่เราจะได้รับ หลังพิสูจน์ว่าเราไม่มีความผิดตามกฎหมาย โดยมีรายละเอียดดังนี้


คุ้มครองค่าเสียหายส่วนเกิน และค่าสินไหมทดแทน หลังพิสูจน์ว่าไม่มีความผิด

  • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการบาดเจ็บ สูงสุดไม่เกิน 80,000 บาทต่อคน
  • คุ้มครองกรณีเสียชีวิต หรือ ทุพพลภาพถาวร 300,000 บาทต่อคน
  • คุ้มครองกรณีสูญเสียอวัยวะตามเกณฑ์ สูงสุด 300,000 บาท ต่อหนึ่งคน
  • คุ้มครองค่าชดเชยการรักษาตัว กรณีผู้ป่วยใน 200 บาทต่อวัน แต่ไม่เกิน 20 วัน หรือไม่เกิน 4,000 บาท
  • จำนวนเงินคุ้มครองสูงสุดรวมกันต้องไม่เกิน 304,000 บาท
  • คุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์ไม่เกิน 7 ที่นั่ง 5,000,000 ต่อครั้ง
  • คุ้มครองความรับผิดสูงสุดต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง สำหรับรถยนต์เกิน 7 ที่นั่ง 10,000,000 ต่อครั้ง

 

 

เรียกค่าสินไหมจากพ.ร.บ. รถยนต์ ทำอย่างไร ? สรุปเอกสารที่ต้องใช้ในการเคลมพ.ร.บ. รถยนต์ ฉบับเข้าใจง่าย

 

เอกสารที่ต้องใช้

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สำเนาทะเบียนรถคันที่เกิดเหตุ
  • สำเนาใบขับขี่
  • ใบแจ้งความหรือบันทึกประจำวันจากเจ้าหน้าที่ตำรวจ
  • สำเนาใบกรมธรรม์ พ.ร.บ. รถยนต์

 

การเคลมกรณีบาดเจ็บ

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบเสร็จรับเงินค่ารักษาพยาบาล

 

การเคลมกรณีเสียชีวิต

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบมรณบัตร
  • สำเนาบัตรประชาชน และ สำเนาทะเบียนบ้านของทายาท
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานที่บ่งบอกถึงการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 

การเคลมกรณีทุพพลภาพ

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบรับรองแพทย์ และ หนังสือรับรองการเป็นผู้พิการ
  • สำเนาบันทึกประจำวันของพนักงานสอบสวน หรือ หลักฐานที่บ่งบอกถึงการได้รับความเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์

 

กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน

  • สำเนาบัตรประชาชน
  • ใบรับรองแพทย์ หรือ หนังสือรับรองการรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน

 

ต้องบอกว่า ประโยชน์ของการทำประกันรถยนต์ภาคบังคับ ไม่ใช่แค่การที่เราจะได้รับความคุ้มครอง และสามารถเรียกค่าสินไหมจากพ.ร.บ. รถยนต์ ในยามที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดได้เท่านั้น แต่พ.ร.บ. รถยนต์ ยังเป็นสิ่งสำคัญที่เราจำเป็นต้องทำ และต้องต่ออายุอย่างต่อเนื่องในทุก ๆ ปี เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว เราจะไม่สามารถเสียภาษีรถยนต์ได้ ซึ่งหากเราใช้รถต่อไปโดยที่ไม่ได้เสียภาษี ก็จะถือว่าเป็นการทำผิดกฎหมาย นำไปสู่การโดนปรับ และมีโอกาสถูกระงับการใช้รถอีกด้วย

 

นอกจากสาระดี ๆ เกี่ยวกับพ.ร.บ. รถยนต์ที่เรานำมาฝากกัน หากใครที่มองหารถมือสองคุณภาพดี สามารถเลือกซื้อได้เลยที่ Auto Villa เรามีรถมือสองให้เลือกหลากหลายรุ่น ในราคาย่อมเยา ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์มือสอง Toyota Honda Mazda และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยรถทุกคันผ่านการตรวจสอบสภาพด้วยมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากประเทศญี่ปุ่น การันตีไม่มีชนหนัก ตัดต่อ น้ำท่วม หรือพลิกคว่ำแน่นอน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สาขาศรีนครินทร์ โทร. 097-921-9552

สาขาร่มเกล้า โทร. 095-906-0633

สาขาลำลูกกา โทร. 092-940-5098

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. การประกันภัยรถยนต์ มีกี่ประเภท? แตกต่างกันอย่างไร?. สืบค้นวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 จาก https://www.tgia.org/insurance/motor

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้  นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ