07.02.2024

ตอบทุกคำถามเรื่องการจ่ายค่าปรับออนไลน์

ถึงแม้จะระมัดระวังในการขับขี่อย่างไร แต่หากขับไปในถนนเส้นที่ไม่คุ้นเคย ก็อาจทำให้เจ้าของรถยนต์ทำผิดกฎโดยไม่รู้ตัว จนถึงขั้นต้องโดนใบสั่ง ซึ่งหากใครที่เป็นเจ้าของรถมือใหม่ หรือไม่เคยมีประสบการณ์ได้รับใบสั่งมาก่อน ก็อาจเกิดคำถามตามมามากมาย เช่น สามารถจ่ายค่าปรับที่สน.อื่นได้ไหม? จ่ายค่าปรับออนไลน์ที่ไหนได้บ้าง? บทความนี้เราสรุปเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับใบสั่งจราจรไว้ให้ครบ มาหาคำตอบกันได้เลย!

 

ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับใบสั่ง รู้ไว้ อุ่นใจกว่า

 

จ่ายค่าปรับสน.อื่นได้ไหม?

ตอบ: จ่ายได้ ไม่ว่าจะได้รับใบสั่งจากเขตไหน ก็สามารถนำไปจ่ายได้ที่ทุกสน.ทั่วประเทศ

 

จ่ายค่าปรับที่ไหนได้บ้าง?

ตอบ: นอกจากการนำใบสั่งไปจ่ายที่สน. โดยตรง เรายังสามารถจ่ายค่าปรับได้ที่ช่องทางต่าง ๆ ดังนี้

  • ธนาคารกรุงไทย
  • Counter Service
  • ตู้บุญเติม
  • CepPay
  • ที่ทำการไปรษณีย์
  • แอปฯ เป๋าตัง
  • ช่องทางออนไลน์ของสำนักงานตำรวจ

 

จ่ายค่าปรับออนไลน์ ทำอย่างไร?

ตอบ:

  • ขั้นตอนการจ่ายค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปฯ เป๋าตัง
    • เข้าแอปฯ เป๋าตัง
    • เลือก “G-Wallet”
    • เลือก “จ่ายบิล”
    • เลือก “ค่าปรับจราจร”
    • กรอก “เลขที่ใบสั่ง” และ “เลขบัตรประชาชน”
    • ระบุ “จำนวนเงินค่าปรับ”
    • ตรวจสอบข้อมูลให้ถูกต้อง จากนั้นเลือก “ยืนยันการจ่ายบิล”

 

  • ขั้นตอนการจ่ายค่าปรับออนไลน์ผ่านแอปฯ Krungthai NEXT
    • เข้าแอปฯ Krungthai NEXT เลือก “จ่ายบิล” ไปที่หมวด “หน่วยงานราชการ”
    • เลือก “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ” กรอก “เลขที่ใบสั่ง” และ “เลขบัตรประชาชน”
    • ตรวจสอบยอดค่าปรับให้ถูกต้อง และเลือกยืนยันการจ่าย

 

  • ขั้นตอนการจ่ายค่าปรับออนไลน์ผ่าน QR Code
    • สแกน QR Code จากท้ายใบสั่ง ด้วยแอปฯ ธนาคาร
    • เมื่อสแกนแล้วจะขึ้นชื่อผู้รับโอนเป็น “สำนักงานตำรวจแห่งชาติ-ค่าปรับจราจร”
    • ตรวจสอบยอดค่าปรับให้ถูกต้อง และเลือกยืนยันการจ่าย

 

ใบสั่งเกินกำหนด ต้องไปจ่ายที่ไหน?

ตอบ: หากใบสั่งเกินกำหนด จะไม่สามารถจ่ายค่าปรับออนไลน์ได้ แต่สามารถนำไปจ่ายได้ที่ทุกสน.ทั่วประเทศ

 

อยากรู้ว่ามีใบสั่งทั้งหมดกี่ใบ เช็กได้ที่ไหน?

ตอบ: เช็กได้ที่ https://ptm.police.go.th/eTicket/#/ 

 

เจ้าหน้าที่ตำรวจกำลังออกใบสั่งจราจร

 

ตอบข้อสงสัย! ถ้าไม่จ่ายค่าปรับ มีโทษอะไรบ้าง?

 

มีโอกาสโดนหมายเรียก

ในกรณีที่เราไม่จ่ายค่าปรับ และปล่อยให้เวลาล่วงเลยไป เจ้าหน้าที่ตำรวจจะทำการออกหนังสือเตือน 1 ครั้ง เพื่อเตือนว่าให้เรารีบไปจ่ายค่าปรับย้อนหลัง และหากเราได้รับหนังสือแล้วแต่ยังไม่ชำระอีก ก็จะเข้าสู่ขั้นตอนของการแจ้งความดำเนินคดีและออกหมายเรียก ซึ่งสุดท้ายแล้วอาจนำไปสู่การออกหมายจับได้เลยทีเดียว

 

ไม่ได้รับป้ายภาษี

นอกจากจะมีโอกาสโดนหมายเรียกแล้ว หากเราพยายามหลีกเลี่ยงไม่จ่ายค่าปรับไปเรื่อย ๆ เมื่อถึงเวลาที่ต้องต่อภาษีประจำปี เจ้าหน้าที่ก็จะไม่ออกป้ายภาษีให้ แต่เราจะได้เป็นป้ายชั่วคราวมาแทน ซึ่งป้ายชั่วคราวนี้มีอายุการใช้งานเพียง 30 วัน หากใช้เกินกว่านั้น ก็จะถือว่าเป็นการขับรถโดยไม่มีป้ายภาษี เข้าข่ายทำผิดพ.ร.บ.รถยนต์ มาตรา 11 มีโทษปรับสูงถึง 2,000 บาท และต้องถูกตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนน

 

มีโอกาสโดนพักใช้ใบขับขี่

สำหรับบางกรณีที่เราทำผิดกฎจราจรร้ายแรง นอกจากจะได้รับใบสั่ง เจ้าหน้าที่ตำรวจยังมีสิทธิ์ที่จะอายัดใบขับขี่ของเราไปด้วย ซึ่งเมื่อใบขับขี่ถูกอายัด ชื่อของเราก็จะติดอยู่ที่แบล็กลิสต์ของกรมการขนส่ง ทำให้เราไม่สามารถไปขอออกใบขับขี่ใหม่ได้ แน่นอนว่ามีเพียงวิธีเดียวที่จะช่วยให้เราได้รับใบขับขี่กลับคืน นั่นก็คือการไปจ่ายค่าปรับให้เรียบร้อยนั่นเอง

 

นอกจากสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากเจ้าของรถ หากใครที่สนใจซื้อ-ขายรถมือสอง สามารถปรึกษา AutoVilla ได้เลย เราคือศูนย์จำหน่ายรถมือสองครบวงจร พร้อมบริการจัดไฟแนนซ์ มีรถให้เลือกครบทุกรุ่น ทุกยี่ห้อ มากกว่า 300 คัน ไม่ว่าจะเป็นรถโตโยต้ามือสอง รถฮอนด้ามือสอง หรือรถยี่ห้ออื่น ๆ ที่คุณมองหา เราคัดรถคุณภาพเน้น ๆ ไม่มีการชนหนัก ตัดต่อ น้ำท่วม หรือพลิกคว่ำแน่นอน

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

สาขาศรีนครินทร์ โทร. 097-921-9552

สาขาร่มเกล้า โทร. 095-906-0633

สาขาลำลูกกา โทร. 092-940-5098

 

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. คาดโทษไม่จ่ายค่าปรับใบสั่ง 1 เม.ย. ต่อภาษีไม่ให้ป้ายจริง. สืบค้นวันที่ 24 มกราคม 2567 จาก https://www.thairath.co.th/scoop/infographic/2666258

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานเว็บไซต์ของท่านให้ดียิ่งขึ้น และเพื่อให้ท่านได้รับการบริการที่ดีที่สุด กรุณากดยอมรับเพื่อยินยอมให้เราใช้คุกกี้  นโยบายความเป็นส่วนตัว

ยอมรับ