20.12.2024
คู่มือขับรถขึ้นเขาฉบับรอบด้าน บอกครบทุกเรื่องที่ต้องรู้
เชื่อว่ามีคนจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกกังวลใจเมื่อต้องขับรถขึ้นเขา ไม่ว่าจะเป็นมือใหม่หรือนักขับมือเก๋ามากประสบการณ์ก็ตาม เนื่องจากเส้นทางที่ทั้งชัน โค้งคดเคี้ยว และทัศนวิสัยที่จำกัด ทั้งยังไม่ใช่สิ่งที่พบเจอได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ขับมีความรู้และเข้าใจเทคนิคที่ถูกต้อง การขับรถขึ้นเขาก็ไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด
1. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเดินทาง
เคล็ดลับการขับรถขึ้นเขาให้ปลอดภัยและราบรื่นไม่ได้มีแค่เรื่องบนถนน แต่การเตรียมความพร้อมก่อนออกเดินทางก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน โดยควรเริ่มต้นจากการตรวจสอบสภาพรถยนต์ ซึ่งเช็กลิสต์ที่ควรคำนึงถึงมีดังนี้
- เบรก : เบรกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการขับรถขึ้นเขา โดยเฉพาะเมื่อขาลงที่ต้องเหยียบเบรกแทบจะตลอดเวลา ดังนั้น ควรตรวจสอบเบรกให้แน่ใจว่าอยู่ในสภาพดีก่อนออกเดินทาง
- ยางรถยนต์ : ยางควรมีดอกยางที่หนาและไม่ลื่น เนื่องจากการขับรถขึ้นเขาต้องการการยึดเกาะที่ดี
- น้ำมันและของเหลวในเครื่องยนต์ : ควรตรวจสอบระดับน้ำมันเครื่อง น้ำหล่อเย็น และน้ำมันเบรกให้แน่ใจว่าอยู่ระดับที่เพียงพอ
- ไฟหน้าและไฟท้าย : สำหรับการขับรถในที่ที่มีแสงน้อยหรือในสภาพอากาศไม่ดี ไฟที่ทำงานปกติจะช่วยเพิ่มความปลอดภัยได้มาก
- ระบบส่งกำลัง : ตรวจสอบให้แน่ใจว่ารถยนต์ของคุณสามารถใช้เกียร์ได้อย่างราบรื่น โดยเฉพาะเกียร์ต่ำที่จะต้องใช้บ่อยในการขับขึ้นลงเขา
2. เข้าใจธรรมชาติของเส้นทางภูเขา
การขับรถขึ้นเขามีความท้าทายที่แตกต่างจากการขับขี่บนทางเรียบ หรือเส้นทางในเมืองทั่วไป เนื่องจากเส้นทางบนภูเขามักจะมีความชันสูง โค้งคดเคี้ยว และทัศนวิสัยที่จำกัด ด้วยเหตุนี้ การรู้วิธีที่จะรับมือกับเส้นทางเหล่านี้ รวมถึงทราบว่าขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไรในสถานการณ์แบบไหน ย่อมช่วยให้คุณขับขี่ได้อย่างมั่นใจมากขึ้น
- ทางชัน : เมื่อเจอทางชัน การใช้เกียร์ต่ำจะช่วยควบคุมความเร็วและเพิ่มแรงบิด ทำให้รถขับขึ้นได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะเกียร์ L (low) สำหรับรถเกียร์อัตโนมัติ หรือการเลือกเกียร์ 1 หรือ 2 สำหรับรถเกียร์ธรรมดา
- โค้งคดเคี้ยว : ในการขับผ่านโค้งที่แคบหรือหักศอก ควรลดความเร็วลงก่อนเข้าโค้ง และมองออกไปข้างหน้าเพื่อตรวจสอบการจราจรและทิศทางของถนน
- ทัศนวิสัยจำกัด : หากเส้นทางมีหมอก ฝนตกหนัก หรือเป็นเวลากลางคืน ควรใช้ไฟหน้าและไฟตัดหมอกเพื่อเพิ่มทัศนวิสัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ
3. เทคนิคการใช้เกียร์
หนึ่งในคำถามที่พบบ่อยที่สุด โดยเฉพาะในหมู่นักขับมือใหม่เกี่ยวกับการขับรถขึ้นเขาคือ “ขับรถขึ้นเขาใช้เกียร์อะไร ?” คำตอบคือ ในการขับรถขึ้นเขาคือการใช้เกียร์ให้เหมาะสม ในที่ชัน ควรใช้เกียร์ต่ำในการขึ้นและลงเขา เพื่อช่วยควบคุมความเร็วและเพิ่มแรงบิด
- การขึ้นเขา : ใช้เกียร์ต่ำ (L, 1 หรือ 2) เพื่อเพิ่มแรงบิดให้เพียงพอต่อการขับขึ้นทางชัน เมื่อคุณใช้เกียร์ต่ำ รถจะมีพลังมากขึ้นในการดึงขึ้น แม้ว่าความเร็วจะลดลงก็ตาม
- การลงเขา : หลีกเลี่ยงการใช้เบรกตลอดเวลาขณะลงเขา เพราะอาจทำให้เบรกเกิดความร้อนสะสมจนทำงานไม่เต็มประสิทธิภาพ ทั้งยังควรใช้เกียร์ต่ำเพื่อช่วยชะลอความเร็วแทนการเหยียบเบรกต่อเนื่อง
สำหรับรถยนต์เกียร์อัตโนมัติ สามารถเปลี่ยนไปใช้โหมดการขับขี่ด้วยเกียร์ต่ำ (L) หรือโหมด Manual ในการควบคุมเกียร์ด้วยตนเอง เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์
4. เทคนิคการเบรก
การใช้เบรกในการขับขึ้นและลงเขาเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากยิ่งเบรกได้เหมาะสมและพอดีกับจังหวะเท่าไร ก็ยิ่งการันตีความปลอดภัยในการขับรถขึ้นเขาเท่านั้น โดยมีหลักการที่ควรจำให้ขึ้นใจดังนี้
- ลงเขาโดยไม่พึ่งเบรกมากเกินไป : ใช้เบรกเฉพาะเมื่อจำเป็นเท่านั้น การพึ่งพาเบรกมากเกินไปขณะลงเขาอาจทำให้เบรกมีความร้อนสูงเกินไปและเสี่ยงต่อการลื่นไถล
- เบรกเป็นจังหวะ: การเบรกแบบเป็นจังหวะ (Pumping) หรือเบรกทีละน้อย ๆ จะช่วยลดการสะสมความร้อนของเบรก
5. การใช้ความเร็วที่เหมาะสม
การขับรถบนทางภูเขาต้องใช้ความเร็วที่เหมาะสม ไม่เร็วเกินไปและไม่ช้าเกินไป โดยมีหลักดังนี้
- การขึ้นเขา: ควรรักษาความเร็วที่สม่ำเสมอ ใช้เกียร์ต่ำเพื่อรักษากำลังเครื่องและเพิ่มแรงบิดให้พอเหมาะ อย่าเร่งเครื่องมากเกินไปจนทำให้เครื่องยนต์ทำงานหนัก
- การลงเขา: การขับลงเขาต้องใช้ความเร็วต่ำที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ อย่าใช้ความเร็วสูงเกินไป เพราะจะทำให้เบรกทำงานหนัก
6. รู้จักวิธีควบคุมพวงมาลัย
การควบคุมพวงมาลัยในการขับรถขึ้นเขาเป็นสิ่งที่ต้องอาศัยทักษะพอสมควร โดยเฉพาะเมื่อเจอกับโค้งที่หักศอกหรือถนนที่แคบ
- การเลี้ยวในโค้งแคบ : ลดความเร็วลงก่อนที่จะเข้าช่วงโค้ง และควรเปิดไฟเลี้ยวล่วงหน้าเพื่อเตือนให้รถคันหลังรับรู้
- การบังคับพวงมาลัยให้มั่นคง : อย่าหมุนพวงมาลัยอย่างรวดเร็วหรือหักโค้งในมุมที่แคบเกินไป การบังคับพวงมาลัยควรเป็นไปอย่างราบรื่นและระมัดระวัง
7. สัญญาณเตือนและการใช้เสียงแตร
เทคนิคขับรถขึ้นเขาข้อสุดท้ายที่ควรทราบคือเรื่องการใช้สัญญาณเตือนและเสียงแตร เนื่องจากหลายครั้งเส้นทางภูเขามีโค้งหักศอกที่มองไม่เห็นรถที่กำลังสวนมา ผู้ขับจึงควรรู้จังหวะการใช้อย่างเหมาะสม
- เปิดไฟหน้าและไฟท้ายในที่มืดหรือหมอกหนา: เพื่อให้รถคันอื่นสามารถมองเห็นคุณได้จากระยะไกล
- ใช้เสียงแตร: เมื่อต้องการเตือนรถคันหน้าหรือคันหลังในกรณีที่มองไม่เห็นทัศนวิสัย เช่น ในโค้งแคบ ควรใช้แตรในบางกรณีเพื่อให้รถคันอื่นรู้ว่าคุณกำลังมา
นอกจากการรู้เทคนิคที่ถูกต้องแล้ว อีกหนึ่งสิ่งสำคัญถ้าอยากขับรถขึ้นเขาได้อย่างปลอดภัยคือการมีรถยนต์สมรรถนะดี ไร้ปัญหาจุกจิกกวนใจ ดังนั้น สำหรับใครที่กำลังมองหารถยนต์ที่ตอบโจทย์ ในราคาที่จับต้องได้ สามารถเลือกซื้อได้อย่างอุ่นใจที่ Autovilla ตลาดรถมือสอง ที่มาพร้อมกับบริการรับซื้อขาย แลก-เปลี่ยนรถยนต์ พร้อมบริการจัดไฟแนนซ์ มียี่ห้อและรุ่นรถให้เลือกมากที่สุดในกลุ่มรถยนต์มือสอง สำหรับรถยนต์ที่ขายผ่าน Autovilla ทุกคัน ล้วนผ่านการตรวจประเมินสภาพรถยนต์ถึง 344 จุด จาก Goo Inspection ซึ่งเป็นสถาบันที่ได้รับการรับรองจากประเทศญี่ปุ่น พร้อมช่วยจัดหาไฟแนนซ์ด้านสินเชื่อรถยนต์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้าทุกท่าน มีสาขาให้บริการรวม 3 สาขา ทั้งในกรุงเทพฯ และปทุมธานี
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
- สาขาศรีนครินทร์ โทร. 097-921-9552
- สาขาร่มเกล้า โทร. 095-906-0633
- สาขาลำลูกกา โทร. 092-940-5098
ข้อมูลอ้างอิง
- วิธีตรวจสอบแรงดันลมยางด้วยตัวเอง. สืบค้นวันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 จาก https://www.cockpit.co.th/post/523/วิธีตรวจสอบแรงดันลมยางด้วยตัวเอง