26.07.2024
ก่อนตัดสินใจโอนลอยรถ ต้องรู้อะไรบ้าง ?
ก่อนตัดสินใจโอนลอยรถ
เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยได้ยินคำว่า “โอนลอยรถ” ผ่านหูกันมาบ้าง โดยเฉพาะใครที่เคยซื้อขายรถมือสอง ทว่า ก็คงมีจำนวนไม่น้อยที่ไม่เคยรู้รายละเอียดมาก่อน ว่าจริง ๆ แล้วการโอนลอยรถคืออะไร มีข้อดีข้อเสียอย่างไร และเอกสารที่ต้องใช้ในการโอนลอยมีอะไรบ้าง ดังนั้น เพื่อให้การซื้อขายรถยนต์ของทุกคนมีความปลอดภัย อุ่นใจมากยิ่งขึ้น บทความนี้จึงจะมาไขข้อข้องใจเหล่านี้กัน ติดตามได้เลย
การโอนลอยรถคืออะไร ?
อธิบายตามนิยามทางกฎหมาย การโอนลอยรถคือหนึ่งในรูปแบบการซื้อขายรถ โดยผู้ขายจะทำการลงนามในสัญญาซื้อขายรถโอนลอย ทว่ายังไม่ได้กรอกชื่อผู้รับโอน หรือหากกรอกชื่อผู้รับโอนแล้ว ก็ยังไม่ได้ไปทำการโอนให้เรียบร้อยที่กรมขนส่งทางบก
การโอนลอยรถถูกกฎหมายหรือไม่ ?
ถึงแม้สัญญาซื้อขายรถโอนลอยจะสามารถทำได้ตามหลักอิสระในการทำสัญญา (Freedom of Contract) ที่บุคคลมีอิสระที่จะตัดสินใจว่าจะทำสัญญาหรือไม่ และจะทำสัญญากับใคร รวมถึงคู่สัญญาสามารถตกลงกำหนดข้อสัญญาได้ตามที่ต้องการ ตราบใดที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากการโอนลอยรถคือการที่ผู้ขายเซ็นเอกสารโอนกรรมสิทธิ์ไว้ล่วงหน้า โดยไม่ระบุชื่อผู้รับโอน ซึ่งอาจทำให้เกิดปัญหาตามมาได้มากมาย ดังนั้น วิธีที่ปลอดภัยที่สุดคือการโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องที่กรมการขนส่งทางบก โดยมีทั้งผู้ซื้อและผู้ขายไปดำเนินการพร้อมกัน
ข้อดี vs ข้อเสียของการโอนลอยรถ
จริงอยู่ที่เราสามารถทำสัญญาซื้อขายรถโอนลอยได้โดยไม่ผิดกฎหมาย ทว่า นักกฎหมายก็ไม่แนะนำให้ใช้วิธีนี้เท่าไรนัก เนื่องจากหากเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย จะพบว่าการโอนลอยรถมีข้อเสียมากกว่า
ข้อดีของการโอนลอยรถมีเพียงข้อเดียวคือความสะดวกรวดเร็ว เพราะการโอนลอยช่วยประหยัดเวลาให้แก่ทั้งสองฝ่าย โดยไม่ต้องเดินทางไปดำเนินการที่กรมการขนส่งทางบกพร้อมกัน ซึ่งอาจยุ่งยากสำหรับผู้ที่มีเวลาไม่ตรงกัน
ในขณะที่ข้อเสียของการโอนลอยรถมีน้ำหนักที่มากกว่าอย่างชัดเจน โดยความเสี่ยงจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อผู้ขายมอบอำนาจให้แล้ว แต่ผู้ซื้อยังไม่ได้ทำเรื่องโอนรถให้เรียบร้อย ในช่วงเวลานี้ หากมีการนำรถไปใช้ในทางที่ผิดกฎหมาย ผู้ที่ต้องรับผิดชอบยังคงเป็นเจ้าของรถคนเดิม ซึ่งอาจนำมาสู่ปัญหาทางกฎหมายที่ยุ่งยากในภายหลัง นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงอื่น ๆ อีก เช่น การถูกฉ้อโกง หรือการไม่สามารถติดตามรถได้หากเกิดการโจรกรรม
ดังนั้น แม้ว่าการโอนลอยรถจะมีความสะดวก แต่ผู้ซื้อและผู้ขายควรตระหนักถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น การโอนกรรมสิทธิ์อย่างถูกต้องตามกฎหมายยังคงเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุดสำหรับทั้งสองฝ่าย
เอกสารที่ใช้ในการโอนลอยรถ
เอกสารที่ใช้ในการโอนลอยรถ หลัก ๆ แล้วจะประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้
- สัญญาซื้อขาย
- เล่มทะเบียนรถตัวจริง
- สำเนาบัตรประชาชนพร้อมลายเซ็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รถ
- สำเนาทะเบียนบ้านพร้อมลายเซ็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รถ
- แบบคำขอโอนและรับโอนจากกรมขนส่งทางบก พร้อมกรอกข้อมูลและลงลายมือชื่อโดยเจ้าของรถคนล่าสุด
- หนังสือมอบอำนาจจากกรมขนส่งทางบก พร้อมลายเซ็นถูกต้องของเจ้าของรถคนล่าสุด (ในกรณีที่เจ้าของรถไม่ได้ไปทำเรื่องโอนที่กรมขนส่งเอง สามารถให้บุคคลอื่นหรือบุคคลที่ซื้อรถต่อไปทำเรื่องโอนแทนได้)
- สำเนาบัตรประชาชนพร้อมลายเซ็นถูกต้องของผู้ซื้อ
ซื้อขายรถยนต์อย่างอุ่นใจ ไร้กังวล ต้องที่ AutoVilla
เมื่อได้รู้เรื่องการโอนลอยรถแบบรอบด้านไปแล้ว ดังนั้น สำหรับใครที่อยากโอนกรรมสิทธิ์รถยนต์อย่างอุ่นใจ ไม่ต้องเสี่ยงกับการโอนลอยรถ รวมถึงไม่โดนกดราคา ต้องมาที่ AutoVilla ศูนย์บริการรถยนต์มือสอง ทั้งซื้อขายและแลกเปลี่ยนพร้อมบริการจัดไฟแนนซ์ รับซื้อรถให้ราคาสูง จบการขายได้ง่าย รับเงินทันที ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากค่างวดรถยนต์ที่ต้องเกิดขึ้นทุกเดือน
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
สาขาศรีนครินทร์ โทร. 097-921-9552
สาขาร่มเกล้า โทร. 095-906-0633
สาขาลำลูกกา โทร. 092-940-5098
ข้อมูลอ้างอิง
- ส่องข้อควรระวัง "โอนลอย" ไม่โอนกรรมสิทธิ์ เสี่ยงติดคุกแทนคนอื่น. สืบค้นวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 จาก https://www.bangkokbiznews.com/social/984720